วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสัมคม


บทที่1 ความหมายและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ"เทคโนโลยีสารสนเทศ"(Information Technology) เรียกสั้นๆ ว่า"ไอที"(IT)
1.1"เทคโนโลยี"(Technology)มีความหมายค่อนข้างกว้างโดยทั่วไป หมายถึงสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆ เป็นต้น

1.2"สารสนเทศ"(Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากข้อมุลดิบ (Raw data) จากแหล่งต่างๆ นำมาคำนวณทางสถิติหรือผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า "สารสนเทศ" ข้อมูลที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที

1.3"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยมีขั้นตอนต่างๆ

"เทคโนโลยีสารสนเทศ"ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีหลักที่สำคัญ 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิงเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการแสวงหาการจัดเก็บ
และการเผยแพร่แลกเปลี่ยนสารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ตัวเลข ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดดังนี้
สาขา 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลตลอดจนการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการ
สาขา 2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ช่วยทำให้การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ปัจจุบันเปลี่ยนจากสังคมยุคเกษตรกรรมได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถติดต่อสื่อสารกันทั่วโลกได้แบบไร้ขีดจำกัด หรือไร้พรมแดน ที่มักเรียกกันว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” (globalization) อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ยังมีผลกระทบตามมาทั้งด้านลบและด้านบวก เช่น ข่าวเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลทางการค้า การดักฟังทางโทรศัพท์ หรือการสร้างข่าวสารทำให้ผู้อื่นเสียหาย เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีกระทรวงที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวง ไอซีที (ministry of Information and Communication Technology) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยี เพื่อจัดระเบียบและบริหารจัดการ องค์การที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานกับปนะชาชน เว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร http://www.mict.go.th/
2.บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอันมาก อาทิ
1.เทคโนโลยีช่วยเสริมปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
2.เทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น สร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นต้น
3.เทคโนโลยีช่วยทำให้การผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เช่น การดูสินค้าหรือราคา การสั่งชื้อสินค้าทางโทรศัพท์ หรือทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4.เทคโนโลยีช่วยทำให้ระบบการผลิต สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก มีราคาถูกลง และ ได้สินค้าที่มีคุณภาพ
5.เทคโนโลยีช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา
3. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาคือ เทคโนดลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีรายละเอียดแต่ละเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตาวคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า “ฮาร์ดแวร์” (Hardware) และฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืเรียกว่า”ซอฟต์แวร์”(Software)
1.1 ฮาร์ดแวร์(Hardware) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จอภาพสัมผัส (Touch Screen) ปากกาแสง (Light Pen) เครื่องอ่านแถบบัตรแม่เหล็ก(Magnetic Strip Reader) และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Reader)
2.อุปกรณ์แสดงผล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เทอร์มินัล
3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งคอมพิวเตอร์
4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวรก่อนที่จะนำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
5.ซอฟต์แวร์(software)
5.1 ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์และเป้นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์รบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (DOS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows XP
2) โปรแกรมอรรถประโยชน์
ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น WinZip ใช้บีบอัดไฟล์ Anti virus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส เป็นต้น
3) โปรแกรมแปลภาษา
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Microsoft Word , Adobe Photoshop เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น
3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและอื่นๆ เช่น โปรแกรม Hypertext เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลไกลๆ เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบข้อมูลที่รับอาจส่งเป็น ตัวเลข (Numeric data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ คือ
1. เทคโนโลยีใช้เก็บข้อมูล
2. เทคโนโลยีใช้ในการบันทึกข้อมูล
3. เทคโนโลยีใช้ในการประมวลผลข้อมูล
4. เทคโนโลยีใช้ในการแสดงผลข้อมูล
5. เทคโนโลยีใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร
6. เทคโนโลยีใช้ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล
4.ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาให้มีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
1. ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยจัดระบบสารสนเทศที่มีอยู่มากมายให้มีระเบียบ
3. ช่วยทำให้การสื่อสารมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเป็นอัตโนมัติ
5. ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้
6. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ
7. ช่วยลดบุคลากรในการประมวลผลและผลิตสารสนเทศ
8. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
5.การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวข้อนี้เกี่ยวกันกรนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในธุรกิจ สามารถจำแนกได้เป็น 2 หัวข้อ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ ด้านการสื่อสาร ด้ารการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือผ่านอินเทอร์เน็ตโดยเน้นด้านการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีภายใต้สำนักงานอัตโนมัติ เพื่อลดการสูญเสียทัพยากรให้น้อยลงและก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจะช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานของบุคลากรได้ โดยนำเทคโนโลยีที่นิยมมาใช้ในปัจจุบัน เช่น
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database)
1.3 เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
1.4 เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ (Product Settlement)
1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล (Data Security)
1.6 เทคโนโลยีด้านการทำดิจิทัลให้เหมาะสมที่สุด (Digital Optimization)
1.7 เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)
1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน (Virtual Office)
1.9 เทคโนโลยีระบบการประยุกต์ด้านการสื่อสาร (Messaging Application)
2.แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ผู้บริหารขององค์กรควรคำนึงถึงการเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
2.1ชิป ปัจจุบันได้รับการผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์
2.2หน่วยเก็บ การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคู่ไปกับความเร็วในการประมวณผลของชิป
2.3สภาพเเวดล้อมเชิงออบเจกต์เป็นนวัตกรรมใหม่ในส่วนการเขียนโปรเเกรมเเละการใช้คอมพิวเตอร์
2.4เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
2.5คอมพิวเตอร์เเบบควอนตัมมีการศึกษาค้นคว้าซึ่งนำไปสู่การผลิตหน่วยคำนวณที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า"บิท"
2.6นาโนเทคโนโลยี ในอนาคตอาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุลที่มีความเร็วสูงสุข
6.ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1.ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา จึงต้องเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ควบคุมระบบปรับอากาศ
2.ช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปกระจายทั่วไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนสนใจ มีโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนการสอนทางไกล
3.ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน ระบคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายการศึกษาต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ
4.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ป่า เขา แม่น้ำ
5.ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ อาวุธที่ใช้ทางการทหารยุคใหม่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เช่น จรวดที่สามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างอัตโนมัติ
6.ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมปละพณิชยกรรม การผลิตสินค้าและการจำหน่ายสินค้ามีการแข่งขันกันในตลาดโลกอย่างมาก

กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร




กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา  การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน         
                การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย  เช่น  การใช้โทรศัพท์ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็น คลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง  ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่น สัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศไปยังสถานีแม่ข่ายหรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญ ณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง  ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไปจะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่น เสียงที่เราพูดคุยกัน  และในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม หรือ 3G ส่งสัญญาณเสียงและภาพพร้อมกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อม ๆ กัน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน - Presentation Transcript

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน วิชาคอมพิวเตอร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 นางฐิติพร ไหวดี ครู คศ .2 โรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคาร
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
    • การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร บัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็ก ใช้บริการฝาก - ถอนเงินจากเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ
    • หรือเอทีเอ็ม ( ATM)
    • การชำระค่าน้ำค่าไฟต่างๆ ผ่านธนาคาร
    • การเล่นอินเทอร์เน็ต
  3. บทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานด้านต่างๆ ได้แก่
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
  5. เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
  6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ :
    • เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลประวัติบุคคล ข้อมูลประวัติอาชญากร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออกสำเนาทะเบียนบ้านด้วยคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  7. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ :
    • ใช้ช่วยงานพิมพ์ งานคำนวณ งานจัดเก็บข้อมูล งานบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
    • การดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การวางแผนการขาย
    • งานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านค้าสมัยใหม่ เช่น การให้บริการชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
    • การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ช ทำให้เกิดการทำธุรกรรมและการติดต่อธุรกิจได้ทั่วโลกในทุกเวลาและทุกสถานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ของโลก
  8. บรรณานุกรม
    • http://203.154.140.4/ebook3/Image/Picture/dola.jpg

คาวมหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประการหนึ่งคือ “สื่อ” หรือ “medium” สื่อที่ว่านี้อาจเป็นสื่อบุคคล สื่อมวลชน หรือสื่อกิจกรรมใดๆ ที่สามารถส่ง “สาร” จาก “ผู้ส่ง”ไปยัง “ผู้รับ” ได้บางครั้งการสื่อสารต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสามารถกระทำได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงความหมาย วิวัฒนาการ และความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารด้วย
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร


“เทคโนโลยีการสื่อสาร” (Communication Technology) มีความหมายตรงๆถึง “สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร” เช่น วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น เทคโนโลยีดิจิตัลช่วยในการประมวลและจัดการกับข้อมูลจำนวนมากๆได้ จึงเรียกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ”(Information Technology) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดการผสมผสานศักยภาพระหว่าง “เทคโนโลยีการสื่อสาร” และ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เกิดเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (Communication and Communication Technology หรือ ICT) ซึ่งช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์สามารถกระทำได้ง่าย รวดเร็ว กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ดังนั้น ความหมายของ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (ICT) จึงเป็นร่มใหญ่ที่รวมเอาเครื่องมือการสื่อสาร การประยุกต์ใช้ ซึ่งมีความหมายรวมถึง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ต่างๆ ระบบดาวเทียม ฯลฯ รวมทั้งการบริการและการใช้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น การประชุมทางไกล หรือการเรียนทางไกล ดังนั้น ICT จึงมักถูกกล่าวถึงในบริบทเฉพาะ เช่น ICT ในการศึกษา ICT ในการบริการสาธารณสุข และ ICT ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น


วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว


ในส่วนของเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายนั้น ยุคแรกของโทรศัพท์ไร้สายอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s (ระหว่าง ค.ศ. 1980 – 1989) เทคโนโลยีโทรศัพท์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วพร้อมศักยภาพที่สูงขึ้น ก้าวไปสู่โทรศัพท์ยุคที่ 2 และ 3 และ 4 ซึ่งทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ ด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ได้ (mobility) ตลอดเวลา สามารถรับส่งข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือรับฟังรายการวิทยุและรับชมรายการโทรทัศน์ได้จากโทรศัพท์ที่อยู่ในมือเราเท่านั้น



ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

















 ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม

เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส (Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรก ที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายเป็นระยะทางไกลๆ ได้โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณข้อความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... - - - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิล ใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2490 ชอกลีย์ บาร์ดีน และ แบรตเทน (Schockley, Bardeen and Brattain) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2500 คิลบี และ นอยส์ (Jack Kilby, Robert Noyce) ได้ประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซี ซึ่ง เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทเอทีแอนด์ที ได้สร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์ 1 เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


เทคโนโลยีสารสนเทศ' หรือ ไอที (อังกฤษInformation technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
โดยมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี